ใช้ชีวิตอยู่บนความรู้สึกไม่ดีพอ…อยู่ไหมหนอเรา?

เรื่องโดย อังครินทร์ ปิมแปง MA,LPC – เรียบเรียง และภาพประกอบโดย ณิชา หลีหเจริญกุล

ใช้ชีวิตอยู่บนความรู้สึกไม่ดีพอ…อยู่ไหมหนอเรา?

เนื้อหาหลักของบทความ

  1. ความรู้สึกอับอายอาจ เป็นสิ่งขับเคลื่อนให้ทำตามกฎเกณฑ์มากมายเพื่อจะได้เป็นคริสเตียนที่ดี
  2. ความอับอาย (shame) คือ ความรู้สึกที่เจ็บปวด หรือประสบการณ์ที่เราทำ หรือพลาดโอกาสได้ทำ แล้วส่งผลให้เราเชื่อว่า เราเป็นคนไร้ค่า และไม่สมควรได้รับการยอมรับ หรือเป็นที่รัก
  3. ชวนทุกคนมาฝึกการตระหนักรู้จักตนเองในเรื่องความอับอายที่ซ่อนอยู่ในจิตใจกัน

เมื่อก่อนตอนที่ตัวฉันเองเริ่มเป็นคริสเตียนใหม่ๆ มักจะติดอยู่กับแนวคิดที่ว่า เราต้องทำตามกฏเกณฑ์มากมายเพื่อจะได้เป็นคริสเตียนที่ดี เพื่อพิสูจน์กับครอบครัวว่า ความเชื่อใหม่ของเรานั้นดีกว่าความเชื่อเดิมเป็นไหนๆ ขออย่าเพิ่งเข้าใจผิดไปว่า กฏเกณฑ์นั้นไม่ดี หรือการเป็นคริสเตียนไม่ต้องทำตามกฎ หรือหลักข้อปฏิบัติต่างๆ  แต่กฏเกณฑ์ที่กำลังพูดถึงในทีนี้ คือ การพยายามทำตามมาตรฐานต่างๆ โดยไม่มีความเข้าใจ มันเลยกลายเป็นความกดดันที่จะต้องทำตามมาตรฐานสูงๆ เพื่อให้ตัวเองเป็นที่ยอมรับ ไม่ใช่เพียงแค่เป็นที่ยอมรับในสายตาคนอื่นนะ แต่ในสายตาของตัวเองนี่แหละ!!!

ทำไมหนอ การยอมรับ การเห็นใจ การเข้าใจความอ่อนแอ และการอ่อนโยนกับตัวเองมันช่างยากเย็นซะเหลือเกิน เราเลยสร้างกฎเกณฑ์ให้ตัวเองว่า จะต้องทำนั่น ทำนี่ให้ได้ เช่น พยายามตื่นมาเฝ้าเดี่ยวทุกเช้า อธิษฐานทุกวัน นมัสการ ไปเข้ากลุ่มเซลทุกอาทิตย์ และอื่นๆ อีกมากมาย หากทำตามรายการเหล่านี้ไม่ได้ ก็มักจะรู้สึกแย่กับตัวเองมากๆ แต่หากเราทำได้ก็จะรู้สึกดีกับตัวเอง แต่นั่นก็ยังไม่พอ เพราะถึงกระนั้นตัวเองก็ยังไม่วายแอบหวังลึกๆ อีกว่า ฉันต้องทำได้ดีกว่านี้สิ และพอทำไม่ได้ ก็กลับรู้สึกแย่กับตัวเองว่า ฉันเป็นคริสเตียนที่ไม่จริงจัง ชีวิตฉันไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง ฉันมันช่างไร้ค่า พระเจ้าต้องไม่พอใจ ต้องไม่โปรดปรานฉันแน่ๆ!!!”

เจ้าความรู้สึกแบบนี้เนี่ย ที่คอยคิดว่าเมื่อฉันทำไม่ได้ แสดงว่า ฉันไม่ดีพอ ฉันเป็นคริสเตียนที่ไม่ดี ฉันไม่เป็นที่โปรดปรานของพระเจ้า มันอาจเป็นไปได้ว่านั่นคือความรู้สึกอับอาย (shame) ในตนเอง เพราะเจ้าความอับอายนี่แหละที่เป็นวัชพืชที่เป็นศัตรูตัวร้าย คอยทำลายความงอกงามของเมล็ดพันธุ์ที่กำลังจะโผล่พ้นดิน และคอยกระซิบบอกเราว่า “เธอต้องทำให้ดีกว่านี้ เธอมันไม่มีค่าพอ ดูคนนั้นสิ เค้าทำได้ดีกว่าเธอ เธอมันช่างไร้ค่าสิ้นดี และอีกสาระพัดคำพูดตำหนิที่สรรหามาต่อว่าเรา

ความอับอาย (Shame) คือ ความรู้สึกที่เจ็บปวด หรือประสบการณ์ที่เราทำ หรือพลาดโอกาสได้ทำ แล้วส่งผลให้เราเชื่อว่า เราเป็นคนไร้ค่าและไม่สมควรได้รับการยอมรับหรือเป็นที่รัก (Brown, P.69)

เจ้าความอับอายมันช่างมีอำนาจซ่อนอยู่ลึกเกินกว่าที่เราอาจจะมองเห็นมันได้ชัด เพราะถ้าไม่ใช้จิตใจไตร่ตรองให้ดี มันอาจทำให้เราเชื่อว่า มันเป็นแรงผลักดันที่ดีเพื่อให้เราพยายามทำมากขึ้น เราจะได้เป็นคนดีขึ้น เก่งขึ้น แต่เอาเข้าจริง เรายังยอมรับตัวเองไม่ได้ ยังรักตัวเองไม่เป็น ยังไม่อ่อนโยน ไม่ให้โอกาสตัวเอง

เจ้าความอับอายอีกเหมือนกันที่คอยอยู่เบื้องหลังความเป็น perfectionist ของเรา เมื่อครั้งยังเป็นคริสเตียนใหม่ เจ้าความเป็นคนสมบูรณ์แบบ ทุกอย่างต้องเป๊ะนี่แหละที่สร้างความเหนื่อยล้า ความท้อแท้ ความกลัว ความหยิ่งผยอง การตัดสิน การไม่มีใจเมตตาอ่อนโยนต่อตัวเอง

Self Check อยากชวนทุกคนมาฝึกการตระหนักรู้จักตนเองในเรื่องความอับอายที่ซ่อนอยู่ในจิตใจกัน แต่ๆๆๆ เราต้องสวมความอ่อนโยนต่อตัวเองก่อนที่เราจะเริ่มสำรวจความอับอาย ให้เราใช้เวลาสักครู่บอกกับตัวเองก่อนว่า เราจะใจดีกับตัวเองในกระบวนการสำรวจนี้

อย่างแรกให้เราทำความเข้าใจก่อนว่าเจ้าความอับอายนี้มันทำงานยังไง ความอับอายทำให้เราอยากหลบซ่อน ทั้งหลบซ่อนจากตัวตนของเรา หลบซ่อนจากผู้อื่น หรือแม้กระทั่งหลบซ่อนจากพระเจ้า

ในปฐมกาล พระเจ้าได้สร้างอดัมและเอวา และพวกเขาก็มีความสัมพันธ์ที่ดีกับพระเจ้า แต่เมื่ออดัมกับเอวาได้ทำบาปโดยการไม่เชื่อฟังพระเจ้า ไปกินผลไม้จากต้นที่พระเจ้าห้ามกิน เขาก็เกิดความละอาย และเขาทั้งสองก็หลบซ่อนจากพระเจ้า ความอับอายได้เข้ามาบนโลกนี้ และเราก็เก็บเกี่ยวผลของมันนับตั้งแต่นั้น

เมื่อรู้แล้วว่า ความอับอายมีที่มาที่ไปยังไง ทีนี้ค่อยๆ เริ่มสำรวจเจ้าความอับอายที่มันซุกซ่อนตัวอยู่ในเรากันเลย!!!

1. สำรวจใจ

ลองสำรวจดูว่า มีคำกระซิบอะไรที่มันติดในใจเรา มีคำพูดไหนวนเวียนขึ้นมาในความคิดอยู่บ่อยๆ มันเป็นคำว่า “ฉันไม่ดีพอ ฉันไร้ค่า ไหมนะ

2. สำรวจพฤติกรรม

ลองสำรวจว่า เราพยายามหลีกเลี่ยงอะไรอยู่รึเปล่า เช่น เราพยายามเปลี่ยนเรื่องคุยไหม เมื่อเรารู้สึกมีอะไรมาสะกิดต่อมความอับอายของเรา หรือว่าเราพยายามทำตัวให้ดูเด่น พยายามทำตามกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างไม่มีที่ติเพื่อให้ตัวเองรู้สึกมีค่าขึ้น หรือว่าเรากำลังตำหนิหรือกล่าวหาคนอื่นเพื่อให้ตัวเองดูดีขึ้น หรือในขณะที่อ่านบทความนี้เรามีอาการหายใจถี่ มีความคิดต่อต้าน หรืออยากเลิกอ่านบทความนี้ไปเลย!

เตือนตัวเองอีกสักครั้งว่า อย่าลืมสวมใจเมตตาต่อตัวเองเมื่อเราอยู่ในกระบวนการนี้ ให้เรามองมันเหมือนมันคือข้อมูลที่เราค้นพบ แยกมันออกจากตัวตนของเรา บอกกับตัวเองว่า เรากำลังเรียนรู้และเติบโต

การจะเอาชนะเจ้าความอับอายนั้น คือ การทำตรงข้ามกับสิ่งที่มันอยากให้เราทำคือ

  1. การฝึกเป็นฝ่ายเริ่มสร้างสัมพันธ์กับคนที่ไว้ใจได้ แทนที่จะหลบซ่อน หรือหลีกเลี่ยง
  2. เปิดเผยเรื่องราวอันเปราะบางที่เราพยายามจะปกปิดกับคนที่เราไว้ใจ หรือบอกกับพระเจ้า แทนการเก็บซ่อนให้มันเป็นความลับ

เหมือนศักเคียสผู้ที่เป็นคนเก็บภาษี คดโกงถูกตราหน้าว่าเป็นคนบาป แต่สิ่งหนึ่งที่ศักเคียสทำที่เป็นแบบอย่างที่ดี คือ เขาตัดสินใจที่จะไม่หลบซ่อนจากความอับอายของเขา จากการถูกตีตรา แต่เขาเลือกที่จะมาหาพระเยซู เลือกที่จะปีนขึ้นไปบนต้นไม้เพื่อได้เห็นพระเยซู และพระองค์ก็ทรงเห็นศักเคียสและเรียกศักเคียส

ศักเคียสเอ๋ย จงรีบลงมา เพราะว่าเราจะต้องพักอยู่ในบ้านของท่านวันนี้  เมื่อศักเคียสได้ยินดังนั้น  เขาจึงตอบพระเยซูไปว่า ดูเถิด พระองค์เจ้าข้า  ทรัพย์สิ่งของของข้าพระองค์  ข้าพระองค์ยอมให้คนอานาถาครึ่งหนึ่งและถ้าข้าพระองค์ได้ฉ้อโกงของของผู้ใด  ข้าพระองค์ยอมคืนให้เขาสี่เท่า – ลูกา 19:1-10

เมื่อศักเคียสกล้าที่จะออกมาจากความอับอายเขาได้รับการยอมรับจากพระเยซู สิ่งนี้ได้เปลี่ยนให้เขากลับใจใหม่ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เขากลายเป็นคนเก็บภาษีที่สัตย์ซื่อ เพราะเขาไม่ต้องหลบซ่อนตัวตนของตัวเองอีกต่อไป

เมื่อเริ่มเข้าใจ และรู้จักต้นตอของความพยายามเป็นคนสมบูรณ์แบบของตัวเอง ตัวเราเองก็ผ่านกระบวนการความเจ็บปวดในการยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบ การเปิดเผยจุดที่เปราะบางและน่าอับอาย มันแปลกมากเลยที่สิ่งที่เคยเก็บซ่อนไว้ ไม่กล้าที่จะพูดถึง เพราะแม้แต่จะคิดก็ทำให้ใจเราหนักอึ้งแล้ว มันกลับกลายเป็นเรื่องที่เราเล่าได้ และเราก็ยอมรับมันว่ามันคือส่วนหนึ่งของเรื่องราวในชีวิตที่กำลังเติบโต แล้วเมื่อยอมรับ และเป็นมิตรกับความไม่สมบูรณ์แบบได้ เราก็ใช้ชีวิตคริสเตียนได้อย่างอ่อนโยนต่อตัวเองมากขึ้น กฎเกณฑ์ที่เคยเป็นเรื่องกดดันก็กลายเป็นสิ่งที่เราอยากทำตามด้วยความเต็มใจเพราะเรารู้ว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังกฎนั้นเห็นและยอมรับเรา

Self check ตระหนักรู้จักตนเองขอเป็นกำลังใจให้เราทุกคนในการผ่านกระบวนการนี้ไปด้วยกันด้วยความอ่อนโยนและใจเมตตาต่อตนเอง

Reference:

Brown, Brene. Daring Greatly. 2012, pp. 57-83.
Thai Holy Bible version TH1971

หนังสือ “C.U.R.E เพื่อชีวิต”

หนังสือ “C.U.R.E เพื่อชีวิต”

หากท่านกำลังมองหาหนังสือเกี่ยวกับการเติบโตและแนวทางการเยียวยาจิตใจที่มีพระเจ้าเป็นศูนย์กลาง ขออนุญาตแนะนำหนังสือเล่มนี้ค่ะ

หนังสือ “C.U.R.E เพื่อชีวิต” เขียนโดย นพ. จอห์น วอร์โลว์ ซึ่งเป็นจิตแพทย์ผู้ใหญ่ เด็กและครอบครัว หนังสือเล่มนี้ใช้ภาษาภาพและขั้นตอนที่เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับ ผู้นำกลุ่มย่อย อนุศาสก วิทยาลัยพระคริสต์ธรรม ศิษยาภิบาล ผู้ช่วยเหลือทั่วไป ผู้ทำงานในพันธกิจ และผู้รับใช้ในคริสตจักร รวมถึงครูและบุคลากรทางด้านสุขภาพ

ท่านสามารถสั่งซื้อได้ที่ลิงค์นี้นะคะ: https://forms.gle/mkqTHgPsXorB5sRz9

หากท่านต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมในการสั่งซื้อหนังสือกรุณาติดต่อ
คุณศิริวรรณ แสนเมือง หรือ คุณมายด์
เบอร์โทร 095-603-6026 หรือ LINE ID: md98x
อีเมล siriwan.s02798@gmail.com

CCAT ขอเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมสุขภาพจิตแบบองค์รวมในสังคมไทย

การประชุมอบรมออนไลน์ ACCA

การประชุมอบรมออนไลน์ ACCA

การประชุมอบรมออนไลน์ ACCA สามารถจัดเวลาได้เลยนะคะหากสนใจค่ะ รายละเอียดเพิ่มเติมในการลงทะเบียนกรุณาสอบถาม

การให้คำปรึกษาแบบองค์รวมขั้นพื้นฐาน 60 ชั่วโมง

อบรมหลักสูตร “การให้คำปรึกษาแบบองค์รวมขั้นพื้นฐาน 60 ชั่วโมง”

สถาบันแมคกิลวารีเพื่อการพัฒนาผู้นำ สมาคมการให้คำปรึกษาแนวทางคริสเตียนในประเทศไทย และสถาบัน Living Wholeness ประเทศออสเตรเลีย

ร่วมกันจัดอบรมหลักสูตร “การให้คำปรึกษาแบบองค์รวมขั้นพื้นฐาน 60 ชั่วโมง” เป็นหลักสูตร Intensive 2 สัปดาห์ วันที่ 17-28 พฤษภาคม 2564

ค่าลงทะเบียน 6,500 บาท รวมค่าหนังสือ 2 เล่ม  (1) C.U.R.E. เพื่อชีวิต เขียนโดย นพ. จอห์น วอร์โลว และ (2)การเข้าใจโรคซึมเศร้าและวิธีเอาชนะมัน โดย นพ. เดวิด นิคเคิลส์

รับเพียง 24 ท่านเท่านั้น!!! และเป็นครั้งสุดท้ายของปีนี้ค่ะ สมัครพร้อมชำระค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 23 เมษายน 2564

หลักสูตรนี้สอนอะไรบ้าง?

  • เรียนรู้หลักการและวิธีการผสมผสานหลักคริสตศาสนศาสตร์และจิตวิทยาเข้าด้วยกัน
  • ฝึกปฏิบัติตามหลักการการให้คำปรึกษาเพื่อเข้าใจกระบวนการ แนวทาง และสร้างสายสัมพันธ์ที่ปลอดภัยในการให้คำปรึกษา
  • เข้าใจขอบเขตและข้อจำกัดของตนเองเพื่อส่งต่อผู้รับบริการไปยังผู้เชี่ยวชาญ

เหมาะสำหรับ…

  • ศิษยาภิบาล ผู้นำคริสตจักรและองค์กร ครูรวีวาระศึกษา หรือสมาชิกคริสตจักรที่ทำพันธกิจการให้ความช่วยเหลือผู้อื่นในคริสตจักร
  • ผู้ที่ทำงานด้านการให้ความช่วยเหลือ หรือแนะแนวผู้อื่น
  • ผู้ที่มีความสนใจในการให้คำปรึกษา และพันธกิจเยียวยารักษาจิตใจ

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ 099 – 272 – 0770 Email: mcd@payap.ac.th

CCAT ขอเชิญชวนผู้ที่สนใจสมัครเพื่อเรียนรู้เรื่องการบูรณาการหลายศาสตร์พร้อมการฝึกปฏิบัติร่วมกันนะคะ

ลงทะเบียนออนไลน์ >> https://forms.gle/FYrLwJWuH6puzonD9

แบบสอบถามเพื่อการวางแผนพัฒนาคู่มือดูแลตนเองและจิตใจแบบองค์รวม

แบบสอบถามเพื่อการวางแผนพัฒนาคู่มือดูแลตนเองและจิตใจแบบองค์รวม

ลิงค์แบบสอบถาม **กรุณาตอบแบบสอบถามภายใน วันที่ 30 เมษายน 2021** https://forms.gle/bbCofaUmr3dzXcZR7